หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของภาพปติมากรรม

       ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก ฯลฯ
      ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย

ตัวอย่างศิลปะ(ปติมากรรม)

     อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัด
ส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน



ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ

       ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก ฯลฯ
      ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย

ตัวอย่างศิลปะ(ปติมากรรม)


     อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัด
ส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน



    ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ





     อาณาจักรอู่ทอง เป็นอาณาจักรเก่าแก่ก่อนอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความ สัมพันธ์กับอาณาจักรต่าง ๆ ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี รวมทั้งสุโขทัย ดังนั้นรูปแบบศิลปะจึงได้รับอิทธิพลของสกุลช่างต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปอู่ทอง คือ พระวรกายดูสง่า พระพักตร์ขรึม ดูเป็นรูปเหลี่ยม คิ้วต่อกันไม่โก่งอย่างสุโขทัยหรือเชียงแสน พระศกนิยมทำ เป็นแบบหนามขนุน มีไรพระศก สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายตัดตรง พระเกตุมาลาทำเป็นทรงแบบฝาชี รับอิทธิพลศิลปะลพบุรี แต่ยุคต่อมาเป็น แบบเปลวเพลิงตามแบบศิลปะสุโขทัย

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของภาพจิตกรรม

      จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ   ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว  

     รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็นรูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญ ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่าทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ สมควรจะได้อนุรักษ์ สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป




ความหมายของวิชาศิลปะ

     ศิลปะมีความหมายกว้างขวางและยากที่จะนิยาม หรือกำหนดไว้ตายตัว
เนื่องจากมีลักษณะการแสดงออกที่เป็นอิสระ สามารถที่จะสร้างสรรค์และพัฒนา
เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีที่สิ้นสุด แต่ก็พอจะรวบรวมความหมายที่นักปราชญ์ หรือผู้รู้
ได้เสนอความคิดเห็นไว้

      มนุษย์สร้างสรรค์งานศิลปะเพื่อความชื่นชม สนองความต้องการด้านอารมณ์
และจิตใจ ผ่านประสาทสัมผัส 3 ด้าน ได้แก่ ศิลปะที่มองเห็น เรียกว่า ทัศนศิลป์
ศิลปะที่แสดงออกทางเสียง เรียกว่า โสตศิลป์ หรือ ดนตรี และศิลปะที่แสดงออก
ทางลีลาการเคลื่อนไหว เรียกว่า นาฎศิลป์ หรือการละคร

           สำหรับศิลปะที่มองเห็น หรือ ทัศนศิลป์ (Visual Art) เป็นศิลปะที่สามารถสัมผัส
รับรู้ ชื่นชมทางสายตา และสัมผัสจับต้องได้ กินระวางเนื้อที่ในอากาศ แบ่งออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่

   1. จิตรกรรม (Painting) หมายถึง การวาดภาพและระบายสี หรือการแสดงออกบน
พื้นระนาบ 2 มิติ
   2. ประติมากรรม (Sculpture) หมายถึง การปั้น การสลัก หรือการแสดงออกเป็น
ผลงาน 3 มิติ
   3. สถาปัตยกรรม (Architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ