หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของภาพปติมากรรม

       ประติมากรรมไทย หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยกรรมวิธี การปั้น การแกะสลัก การหล่อ หรือการประกอบเข้าเป็นรูปทรง 3 มิติ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก ฯลฯ
      ผลงานประติมากรรมไทย มีทั้งแบบ นูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว งานประติมากรรมนูนต่ำและนูนสูงมักทำเป็นลวดลายประกอบกับสถาปัตยกรรม เช่นลวดลายปูนปั้น ลวดลายแกะสลักประดับตามอาคารบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร พระราชวัง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นลวดลายตกแต่งงานประติมากรรมแบบลอยตัวด้วย

ตัวอย่างศิลปะ(ปติมากรรม)

     อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13 - 18 ) อยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทย มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยู่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตาม ลัทธิมหายาน พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัด
ส่วน พระพักตร์คล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน



ศิลปะลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 16 - 18) มีอาณาเขตครอบคลุมภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ตลอดจนในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นของชนชาติขอม แต่เดิมเป็นศิลปะขอม แต่เมื่อชนชาติไทยเข้ามาครอบดินแดนแถบนี้ และมีการผสมผสานศิลปะขอมกับศิลปะไทย จึงเรียกว่า ศิลปะลพบุรี ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปแบบลพบุรีคือ พระพักตร์สั้นออกเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีพระเนตรโปน พระโอษฐ์แบะกว้าง พระเกตุมาลาทำเป็นต่อมพูน บางองค์เป็นแบบฝาชีครอบ พระนาสิกใหญ่ พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระกรรณยาวย้อยลงมาและมีกุณฑลประดับด้วยเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น